26 ตุลาคม 2552

เขาสามมุข

เขาสามมุข ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.udon-city.com

เขาสามมุข หรือชื่อเดิมเรียกว่า สมมุก อยู่ติดกับชายหาดบางแสน บนเขาสามมุขมีศาลเจ้าแม่เขาสามมุข เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ และประชาชนทั่วไป ส่วยชื่อนั้น สันนิษฐานว่ามาจากสาเหตุ 2 ประการ ประการที่หนึ่งคงมาจากลักษณะของภูเขา ที่มีแหลมยืนออกไปในทะเล มองแต่ไกลเป็นรูปสามเหลี่ยม จึงได้ชื่อว่า เขาสามมุข ประการที่สองมาจากตำนานที่เล่าต่อๆกันว่า

มีหญิงสาวสวยคนหนึ่งชื่อ สามมุข เป็นชาวเมืองบางปลาสร้อย นางกกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่เล็ก อาศัยอยู่กับยายในกระท่อมที่ปลูกอยู่ที่หน้าผาริมทะเล นางเป็นคนสวย มีชีวิตที่ค่อนข้างสันโดษ ไม่ค่อยสุงสิงกับใคร

มีหนุ่มคนหนึ่งชื่อ แสน เป็นลูกชายกำนันบ่าย เศรษฐีแห่งหมู่บ้านอ่างหิน หรือ อ่างศิลา ซึ่งอยู่ใกล้กับภูเขาลูกนี้ แสนชอบเล่นว่าวเป็นชีวิตจิตใจ วันหนึ่งว่าวของแสนขาดลองไปตกอยู่ที่กระท่อมของสามมุข เธอเก็บว่าวของชายหนุ่มได้ เมื่อแสนตามว่าวมาก็พบกับสามมุข แล้วเขาก็ต้องตกตะลึงที่เห็นหญิงสาว เขาไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะพบหญิงสาวสวยในที่ห่างไกลจากชุมชนเช่นนี้

แสนต้องการที่จะมาพบกับสามมุขอีกจึงของมาพบสามมุขอีก ในที่สุดสามมุขก็ใจอ่อนยอมให้แสนมาหาที่บ้าน ทั้งสองพบกันเกือบทุกวัน ด้วยความใกล้ชิดสนิทสนมกันทำให้ทั้งสองมีความรักต่อกันชายหนุ่มสาบานกับกญิงสาวว่าจะรักเธอตลอดไป จะไม่มีใครมาพรากความรักของเขาได้

วันหนึ่ง แสนได้สวมแหวนของตนให้สามมุขเพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่า เขาจะรักสามมุขจนวันตาย ต่อมาไม่นานกำนันบ่าย พ่อของแสนรู้เรื่องนี้ก็โกรธมาก เพราะไม่พอใจที่สามมุขเป็นคนจน กำนันยืนคำขาดให้แสนแต่งงานกับมะลิลูกสาวเศรษฐีบ้านอ่างศิลาทันที แสนไม่มีโอกาสมาบอกข่าวแก่สามมุขเลย

ในวันแต่งงานของแสนกับมะลิ ขณะที่แสนกำลังมอบรับน้ำสังข์อยู่นั้น เขาก็ต้องตะลึง เพราะสามมุขมายืนอยู่ตรงหน้า หญิงสาวมองแสนด้วยดวงตาที่ตัดพ้อ เธอถือสังข์รดน้ำอยู่ในมือ แล้วยื่นมืออันสั่นเทารดน้ำลงบนมือของชายหนุ่ม แล้วเธอก็ถอดแหวนคืนให้ทีมือของแสน หญิงสาวก็หันกลับไปอย่างรวกเร็ว

สามมุขวิ่งไปที่กระท่อมของเธอ ร้องไห้สะอึกสะอื้นไปตลอดทาง เธอนึกถึงคำสาบานของแสนที่พูดไว้กับเธอ ทำให้เธอชอกช้ำยิ่งนัก หญิงสาวก้าวอย่างช้าๆไปที่หน้าผาริมทะเล สายตาเหม่อมองไปข้างหน้า แล้วเธอก็ตัดสินใจกระโดดลงหน้าผาไป ครั้นแล้วแสนก็ตัดสินใจกระโดดหน้าผาตายตามสามมุขไปด้วยตามคำสาบานที่ตนให้ไว้กับคนรัก

ต่อมาชาวบ้านได้สร้างศาลเจ้าแม่สามมุขไว้ที่หน้าผา ตรงที่สามมุขกับแสนกระโดลงไปตาย เพื่อเป็นอนุสรณ์ในความรักของทั้งสองคน และเรียกภูเขานี้ว่า เขาสามมุข มาจนทุกวันนี้

ผจงวาด กมลเสรีรัตน์. นิทานพื้นบ้านภาคกลาง.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2543

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น