27 ตุลาคม 2552

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล อยู่ติดกับมหาวิทยาลัยบูรพา ก่อนถึงชายหาดบางแสน ซึ่งมีเนื้อที่ 30 ไร่ ภายในแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ซึ่งมีสัตว์ทะเลนานาชนิดจัดแสดงไว้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ และห้องปฏิบัติการวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล

ชั้นที่ 1 จะเป็นตู้ปลา และสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในทะเลในเขตน่านน้ำไทย โดยแต่ละตู้จัดสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด มีชื่อสามัญและชื่อทางวิทยาศาสต์บอกไว้ที่หน้าตู้

ชั้นที่ 2 จะจัดแสดงตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในทะเลโดยการเก็บด้วยวิธีต่างๆ เช่น สตั๊ฟแห้ง ดองด้วยน้ำยาฟอร์มาลิน บอร์ดให้ความรู้ระบบนิเวศน์ในทะเล พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย

เปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์ เวลา 08.30-16.00 น. วันหยุดราชการเปิดถึง 17.00 น. สาธิตดำน้ำให้อาหารปลาเวลา 14.30 น. วันหยุดเพิ่มรอบ 10.30 น.

อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยว ชาวไทย ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ โทร. 0 3839 1671-3

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนสุขุมวิทผ่านแยกอ่างศิลา จตุจักรชลบุรี เลี้ยวขวามาทางเดียวกับบางแสน ตรงไปนิดเดียวจะเห็นสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลอยู่ทางซ้ายมือ

เบอร์ติดต่อ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา (พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน)
(038) 391671-3 ต่อ 184,126 ได้ทุกวัน ไม่มีวันหยุด ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น.

แผนที่. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล


















ที่มา: www.folktravel.com

26 ตุลาคม 2552

เขาสามมุข

เขาสามมุข ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.udon-city.com

เขาสามมุข หรือชื่อเดิมเรียกว่า สมมุก อยู่ติดกับชายหาดบางแสน บนเขาสามมุขมีศาลเจ้าแม่เขาสามมุข เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ และประชาชนทั่วไป ส่วยชื่อนั้น สันนิษฐานว่ามาจากสาเหตุ 2 ประการ ประการที่หนึ่งคงมาจากลักษณะของภูเขา ที่มีแหลมยืนออกไปในทะเล มองแต่ไกลเป็นรูปสามเหลี่ยม จึงได้ชื่อว่า เขาสามมุข ประการที่สองมาจากตำนานที่เล่าต่อๆกันว่า

มีหญิงสาวสวยคนหนึ่งชื่อ สามมุข เป็นชาวเมืองบางปลาสร้อย นางกกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่เล็ก อาศัยอยู่กับยายในกระท่อมที่ปลูกอยู่ที่หน้าผาริมทะเล นางเป็นคนสวย มีชีวิตที่ค่อนข้างสันโดษ ไม่ค่อยสุงสิงกับใคร

มีหนุ่มคนหนึ่งชื่อ แสน เป็นลูกชายกำนันบ่าย เศรษฐีแห่งหมู่บ้านอ่างหิน หรือ อ่างศิลา ซึ่งอยู่ใกล้กับภูเขาลูกนี้ แสนชอบเล่นว่าวเป็นชีวิตจิตใจ วันหนึ่งว่าวของแสนขาดลองไปตกอยู่ที่กระท่อมของสามมุข เธอเก็บว่าวของชายหนุ่มได้ เมื่อแสนตามว่าวมาก็พบกับสามมุข แล้วเขาก็ต้องตกตะลึงที่เห็นหญิงสาว เขาไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะพบหญิงสาวสวยในที่ห่างไกลจากชุมชนเช่นนี้

แสนต้องการที่จะมาพบกับสามมุขอีกจึงของมาพบสามมุขอีก ในที่สุดสามมุขก็ใจอ่อนยอมให้แสนมาหาที่บ้าน ทั้งสองพบกันเกือบทุกวัน ด้วยความใกล้ชิดสนิทสนมกันทำให้ทั้งสองมีความรักต่อกันชายหนุ่มสาบานกับกญิงสาวว่าจะรักเธอตลอดไป จะไม่มีใครมาพรากความรักของเขาได้

วันหนึ่ง แสนได้สวมแหวนของตนให้สามมุขเพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่า เขาจะรักสามมุขจนวันตาย ต่อมาไม่นานกำนันบ่าย พ่อของแสนรู้เรื่องนี้ก็โกรธมาก เพราะไม่พอใจที่สามมุขเป็นคนจน กำนันยืนคำขาดให้แสนแต่งงานกับมะลิลูกสาวเศรษฐีบ้านอ่างศิลาทันที แสนไม่มีโอกาสมาบอกข่าวแก่สามมุขเลย

ในวันแต่งงานของแสนกับมะลิ ขณะที่แสนกำลังมอบรับน้ำสังข์อยู่นั้น เขาก็ต้องตะลึง เพราะสามมุขมายืนอยู่ตรงหน้า หญิงสาวมองแสนด้วยดวงตาที่ตัดพ้อ เธอถือสังข์รดน้ำอยู่ในมือ แล้วยื่นมืออันสั่นเทารดน้ำลงบนมือของชายหนุ่ม แล้วเธอก็ถอดแหวนคืนให้ทีมือของแสน หญิงสาวก็หันกลับไปอย่างรวกเร็ว

สามมุขวิ่งไปที่กระท่อมของเธอ ร้องไห้สะอึกสะอื้นไปตลอดทาง เธอนึกถึงคำสาบานของแสนที่พูดไว้กับเธอ ทำให้เธอชอกช้ำยิ่งนัก หญิงสาวก้าวอย่างช้าๆไปที่หน้าผาริมทะเล สายตาเหม่อมองไปข้างหน้า แล้วเธอก็ตัดสินใจกระโดดลงหน้าผาไป ครั้นแล้วแสนก็ตัดสินใจกระโดดหน้าผาตายตามสามมุขไปด้วยตามคำสาบานที่ตนให้ไว้กับคนรัก

ต่อมาชาวบ้านได้สร้างศาลเจ้าแม่สามมุขไว้ที่หน้าผา ตรงที่สามมุขกับแสนกระโดลงไปตาย เพื่อเป็นอนุสรณ์ในความรักของทั้งสองคน และเรียกภูเขานี้ว่า เขาสามมุข มาจนทุกวันนี้

ผจงวาด กมลเสรีรัตน์. นิทานพื้นบ้านภาคกลาง.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2543

ประวัติบางแสน

บางแสน

เทศบาลเมืองแสนสุข เป็นองค์การปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลแสนสุข เป็นเทศบาลตำบลแสนสุข ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2531 ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล คือ ตำบลแสนสุขทั้งตำบล บางส่วนของตำบลเหมือง และบางส่วนของตำบลห้วยกะปิ อยู่ภายใต้การบริหารงาน ของประชาชนในท้องถิ่น โดยมีนายสมชาย คุณปลื้ม เป็นนายกเทศมนตรี นายสวัสดิ์ หอมปลื้ม และนายสมชาติ คุณปลื้ม เป็นเทศมนตรี มีสมาชิกสภาเทศบาล อีกจำนวน 12 คน เข้ามาร่วมคิดร่วมทำ กำหนดนโยบายและบริหารงานต่าง ๆ ในรูปแบบเทศบาล ทำให้ท้องถิ่น ได้รับการพัฒนาเจริญก้าวหน้า ภายใน ระยะเวลา 13 ปี จึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลตำบลแสนสุข เป็นเทศบาลเมืองแสนสุข เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2544 เทศบาลเมืองแสนสุข มีหน้าที่รับผิดชอบต่อประชาชนในท้องถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวที่เก่าแก่ และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทยคือ ชายหาดบางแสน เนื่องจากเป็นที่ท่องเที่ยว ของประชาชนทุกระดับ มีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 89 กิโลเมตรจึงเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็น ชาวไทยหรือต่างประเทศ มาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 50 ปี เทศบาลเมืองแสนสุข ในอดีตก่อนจะจัดตั้งเป็นเทศบาลการบริหารงานถูกดำเนินการโดยคณะกรรมการ
สุขาภิบาลแสนสุข พื้นที่ชายหาดบางแสนและเขาสามมุข สมัยนั้นนิยมท่องเที่ยวชมเขา แต่เนื่องจากขาดงบประมาณ บุคลากร เครื่องมือเครื่องใช้ และการจัดการ ที่ดี อำนาจในการบริหารขึ้นอยู่กับการปกครองส่วนภูมิภาค ทำให้การบริหารงานไม่เป็นไปด้วยดีเท่าที่ควร เมื่อสุขาภิบาล ได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาล ศักยภาพในการบริหารงานมีมากขึ้น การพัฒนาในทุก ๆ ด้าน เป็นไปอย่างรวดเร็วพลิกฟื้นจากแหล่งเสื่อมโทรม กลายเป็นแหล่งชุมชน ที่มีศักยภาพในด้าน การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของท้องถิ่นมีรายได้หมุนเวียน โดยเฉพาะวันหยุดราชการนับล้าน ๆ บาทต่อวัน ภูมิประเทศเป็นพื้นที่ที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง เฉลี่ย 3 เมตร ภูมิอากาศจัดอยู่ในประภทฝนเมืองร้อน หรือแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน ด้านตะวันออกของเทศบาลเป็นที่ราบเชิงเขาลาดแนวชายฝั่งทะเล จึงเป็นหาดทรายยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ความสูงของพื้นที่วัดจากน้ำทะเลประมาณ 3 เมตร สภาพสังคมและเศรษฐกิจ เนื่องจากเทศบาลมีศักยภาพ เป็นชุมชนทางการศึกษา การท่องเที่ยว และที่พักอาศัยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายเศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการพาณิชยกรรม กิจกรรม การค้าตั้งอยู่หนาแน่นบริเวณตลาดหนองมนและชายหาดบางแสนซึ่งเป็นผลมาจากการท่องเที่ยว
นอกจากนี้ยังมีอาชีพประมง ทำสวนมะพร้าว ฟาร์มกุ้ง แปรรูปผลิตผลทางทะเล และรับจ้างรวมถึงกิจการ ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริการด้านการท่องเที่ยว ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยบูรพา และสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ทำให้สภาพเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว